วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

[BIS] Stop Motion - ภาวะโลกร้อน

มาดูรูปแบบ Stop Motion กันบ้างนะคะ



ที่มา :

https://www.youtube.com/watch?v=SwAb77Gd4vc

สารคดีภาวะโลกร้อน

นอกจากเราจะศึกษาเรื่องภาวะโลกร้อนเป็นตัวหนังสือ เรามาศึกษาเป็นสารคดีกันบ้างดีกว่าค่ะ ข้างล่างนี้เลย



ที่มา :

https://www.youtube.com/watch?v=FXjt2aQg8g0

เริ่มต้นช่วยโลกด้วยตัวเรา

รู้ไหมว่า
          - ก๊อกน้ำประเทศของเรา มีอัตราการไหลของน้ำเฉลี่ย 9 ลิตร ต่อ นาที ถ้าเราแปรงฟัน 3 นาที เปิดก๊อกเต็มที่ กว่าจะแปรงเสร็จ เราจะใช้นำถึงคนละ 27 ลิตร ซึ่งเป็นปริมาณเท่ากับ 83 กระป๋อง 

                          



          - หากเราเปิดน้ำล้างจาน เราอาจเสียน้ำมากถึง 130 ลิตร ซึ่งเพียงพอต่อการล้างรถยนตื 1 คัน 
          - จากการศึกษา คนกรุงเทพฯ ใช้นำเฉลี่ยวันละ 200 ลิตร ขณะที่คนต่างจังหวัด หรือ คนชนบทใช้น้ำเพียงแค่วันละ 50 ลิตร ถ้าคนกรุงเทพฯ ใช้น้ำลดลงได้เหลือ 70 ลิตรต่อวัน กรุงเทพฯ เพียงเมืองเดียว ซึ่งมีประชากรจำนวนประมาณ 10 ล้านคน ก็จะประหยัดน้ำได้วันละ 1300 ล้านลิตร แต่ในความเป็นจริง น้ำปริมาณนี้ถูกปล่อยลงท่อไปเฉยๆ 
 

ใช้น้ำอย่างประหยัด
          - การซักผ้า ถ้าซักด้วยมือควรรองน้ำใส่ภาขนะ เช่น กาละมัง กระป๋อง อย่าเปิดน้ำทิ้งไว้ตลอดการซักผ้า 
          - ควรเลือกใช้ผงซักฟอกที่เหมาะสม เพราะสามารถประหยัดน้ำได้ 
          ควรเรื่องใช้เครื่องซักผ้า ให้มีขนาดเหมาะสมกับจำนวนบุคคลในบ้าน เพราะสามารถประหยัดได้ทั้งน้ำและไฟ 
          - ถ้าซักผ้าด้วยเครื่อง ควรใส่ผ้าจำนวนที่เหมาะสมกับเครื่อง 
          - ขณะแปรงฟัน หรือ ถูสบู่ ควรปิดน้ำ และเปิดอีกครั้งเมื่อบ้วนปาก หรือ ฟอกสบู่ 
          - ขณะทำความสะอาดด้วยถ้วยชาม ด้วยน้ำยาล้างจานอย่าเปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้ 
          - ควรเลือกอุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อประหยัดน้ำ 
          - ใช้ชักโครกแบบประหยัดน้ำ ที่ใช้น้ำเพียง 6 ลิตร ต่อครั้ง ต่างจากเดิมที่ใช้น้ำถึงครั้งละ 20 ลิตร 
          - ติดตั้งอุปกรณ์เติมอากาศที่ก๊อกน้ำ เพื่อจะให้ได้ปริมาณอากาศในนำมาก แต่ใช้น้ำน้อย 
          - ควรรดน้ำช่วงเช้าหรือ เย็น และใช้ Sprikle หรือ ฝักบัว 
          - หมั่นดูแลไม่ให้ท่อส่งน้ำ มีจุดรั่วไหล เพราะจะได้ไม่เสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์ 
          - หากมีตู้กดน้ำ ควรกดแต่พอดื่ม 


                                  

ที่มา :

http://nutsayt.blogspot.com/p/blog-page_3353.html



มนุษย์ทำร้ายธรรมชาติ



มนุษย์ได้บุกเบิกพื้นที่ นำทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนพื้นดิน ใต้พื้นดินและในมหาสมุทร มาสนองตัณหาของตนอย่างไม่จำกัด จนทรัพยากรของโลกร่อยหรอลงอย่างน่าวิตก

การกระทำต่อทรัพยากรธรรมชาติบนโลก จากน้ำมือของมนุษย์นี้   เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ก่อให้สภาวธรรมชาติบนโลกเสียความสมดุลไป  ธรรมชาติจึงต้องปรับตัวเองให้เกิดความสมดุลขึ้น การปรับตัวของธรรมชาติบางคราวก่อให้เกิดเป็นภัย เช่น น้ำท่วม  แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด  อากาศวิปริตเป็นต้นว่าร้อนจัด หนาวจัด ฝนตกหนัก แล้งจัด  หรือแม้กระทั่งเกิดสงครามแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง   ทำลายชีวิตมนุษย์ไปจำนวนมาก

ยิ่งมนุษย์รุกล้ำ ทำร้ายธรรมชาติมากขึ้นเท่าใด  ธรรมชาติก็จะทำลายมนุษย์มากขึ้นเท่านั้น 

ธรรมชาติไม่ได้โหดร้ายต่อมนุษย์ แต่มนุษย์ต่างหากที่โหดร้ายต่อธรรมชาติ  กอบโกยเอาผลประโยชน์จากธรรมชาติ   นำทรัพยากรธรรมชาติมาสนองตัณหาของตนอย่างไม่รู้จักเพียงพอด้วยความโลภ  

มนุษย์สามารถอาศัยบนโลกใบนี้ อย่างสงบ เย็น ได้มากกว่าที่เป็นอยู่นี้  หากเข้าใจธรรมชาติ  รู้จักนำทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้กับชีวิตอย่างเหมาะสม ไม่รุกล้ำทำลายธรรมชาติ

แต่หาก มนุษย์ไม่เข้าใจธรรมชาติ ยังคงทำร้ายธรรมชาติอย่างอหังการไปเรื่อยๆ   ธรรมชาติก็จะทำลายมนุษย์ไปตามวิถีของธรรมชาติ จนมนุษย์อาจสูญพันธ์ไปจากพิภพในวันหนึ่งก็ได้

   


ที่มา : http://nutsayt.blogspot.com/p/blog-page_8.html

40 วิธีลดภาวะโลกร้อน

40 วิธีลดภาวะโลกร้อน


1. ถอดปลั๊กไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า รู้มั๊ยคะว่าการใช้ไฟฟ้าในบ้านมีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึง 16%
2. หันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการตากผ้าแทนการ อบผ้าในเครื่องซักผ้า
3. การรีดผ้า ควรรีดครั้งละมาก ๆแทนการัดทีละตัว เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า
4. ปิดแอร์บ้าง แล้วหันมาใช้พัดลมหรือว่าเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทมากขึ้น
5. เวลาไปที่ห้างสรรพสินค้าอย่าเปิดประตูทิ้งไว้ เพราะแอร์จะทำงานหนักมากว่าปกติ
6. ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟท์ นอกจากจะเป็นการได้ออกกำลังกายแล้วยังประหยัดได้เยอะขึ้นรู้มั้ยคะว่า
การกดลิฟต์หนึ่งครั้งจะเป็นการเสียค่าไฟถึงครั้งละ 7 บาท
7. ปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น โดยเปิดเฉพาะด้วยที่เราจำเป็นต้องใช้จริง ๆ
8. ลดๆ การเล่นเกมลงบ้าง เพราะนอกจากสายตาจะเสียแล้ว ยังเปลืองไฟมาก ๆ อีกด้วย
9. ตู้เย็นสมัยคุณแม่ยังสาว ขายทิ้งไปได้แล้ว เพราะกินไฟมากกว่าตู้เย็นใหม่ถึง 2 เท่า
10. บอกคุณพ่อคุณแม่ให้เปลี่ยนไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่าและประหยัดกว่าหลอดปกติ 40%
11. ยืดอายุตู้เย็นด้วยการไม่นำอาหารร้อนเข้าตู้เย็น และหลักเลี่ยงการนำถุงพลาสติกใส่ของในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นจ่ายความเย็นได้ไม่ทั่วถึงอาหาร
12. ละลายน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็นเป็นประจำ เพราะตู้เย็นจะกินไฟมากขึ้นเมื่อมีน้ำแข็งเกาะ
13. ใช้รถเมล์ รถไฟฟ้าแทนการใช้รถส่วนตัว
14. ถ้าไม่ได้ไปไหนไกล ๆ ให้ใช้จักรยาน หรือเดินไปก็ดีนะคะ ได้ออกกำลังกายไปในตัวด้วย
15. ใช้กระดาษแต่ละแผ่นอย่างประหยัดกระดาษรียูทหนังสือพิมพ์ เพราะกระดาษเหล่านั้นมาจากการตัดต้นไม้
16. เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว เอาไปบริจาคบ้างก็ได้ เพราะในบางบริษัทมีการรับ บริจาคเสื้อที่ใช้แล้ว จะนำไปหลอมมาทำเป็นเส้นใยใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 71%
17. ลดใช้พลาสติก โดยใช้ของที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ เช่น กระเป๋าผ้า หรือกระติกน้ำ
18. พยายามทานอาหารให้หมด เพราะเศษอาหารเหล่านั้นก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนต่อโลกเพิ่มขึ้น
19. ร่วมกันประหยัดน้ำมันแบบ Car Pool เพื่อช่วยประหยัดน้ำมัน และยังเป็นการลดจำนวนรถติดบนถนนได้อีกทางด้วยค่ะ
20. พยายามลดเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวเอื้องอย่าง วัว เพราะมูลของสัตว์เหล่านั้นจะปล่อยก๊าซมีเทน
21 กินผักผลไม้เยอะ ๆ เพราะอุตสาหกรรมการเกษตรไม่ปล่อยก๊าซมีเทนที่เป็นตัวเพิ่มความร้อนให้อากาศ
22. กระดาษหนังสือพิมพ์ไม่ใช้แล้ว อย่าทิ้ง สามารถนำมาเช็ดกระจกให้ใสแจ๋วได้
23. ใช้เศษผ้าเช็ดสิ่งสกปรกแทนกระดาษชำระ
24. มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ป้ายฉลากเขียว ประหยัดไฟเบอร์ 5 มาตรฐาน
25. ไปตลาดสดแทนซูเปอร์มาร์เก็ตบ้าง ซื้อผัก ผลไม้ หมู ไก่ ปลา เพราะสินค้าที่ห่อด้วยพลาสติกและโฟมนั้นจะทำให้เกิดขยะจำนวนมากมายมหาศาล
26. ใช้น้ำประปาอย่างประหยัด เพราะระบบการผลิตน้ำประปาของเทศบาล ต่าง ๆ ต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการทำให้น้ำสะอาด
27. ลดปริมาณการทิ้งขยะลงบ้าง
28. ป้องกันการปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศด้วยการแยกขยะอินทรีย์ เช่น พวกเศษผักและเศษอาหารออกจากขยะอื่น ๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์
29. บอกคุณพ่อคุณแม่ให้ขับรถความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม.
30. ทาหลังคาบ้านด้วยสีอ่อน เพื่อช่วยลดการดูดซับความร้อน

31. ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้อากาศ ปลูกไผ่แทนรั้ว ต้นไผ่เติบโตเร็วเป็นรั้วธรรมชาติที่สวยงาม และยังดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี อาจจะลำบากไปหน่อยแต่ก็เก๋ไม่น้อยนะคะ
33. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเติมใหม่ได้ เพื่อเป็นการลดขยะจากห่อของบรรจุภัณฑ์
34. ลดปริมาณขยะโดยใช้หลัก 3R คือ Reuse, Recycle, Reduce
35. ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในสวนไม้ประดับที่บ้าน แต่ขอให้เลือกใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติแทน
36. ทานสเต็กและแฮมเบอร์เกอร์ในร้านใหญ่ ๆ ให้น้อยลงบ้างเพราะอุตสาหกรรมเนื้อระดับนานาชาติผลิตก๊าซเรือนกระจกถึง 18 % สาเหตุหลักก็คือไนตรัสออกไซด์และมีเทนจากมูลวัว
37. มีส่วนร่วมกิจกรรมรณรงค์สิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยเผยแพร่ และการลดปัญหาโลกร้อน
38. อยู่อย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ตามพระราชดำรัสของในหลวงนะคะ
39. ประหยัดพลังงานเท่าที่จะทำได้ทั้งน้ำ ไฟ น้ำมัน เพื่อให้ลูกหลานของเรามีสิ่งเหล่านี้ใช้กันต่อไปในอนาคต
40. อย่าลืมนำวิธีดี ๆ เหล่านี้ไปบอกต่อเพื่อน ๆ ด้วยนะคะ



ที่มา : http://sawananan.ac.th/computer/new/work2/m4/m4/2/n3.htm

ภาวะโลกร้อนกับก๊าซมีเทนใต้น้ำแข็ง

ผมมีโอกาสได้ดูรายการจับเข่าคุยตอนที่ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ท่านมาเป็นแขกรับเชิญ และก็ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องภาวะโลกร้อน ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจมากอยู่หลายเรื่อง วันนี้ผมขอยกเอาเรื่องของก๊าซมีเทนที่พบอยู่เป็นจำนวนมากในแถบเหนือของโลกมาเขียนเพื่อให้เพื่อนๆอ่านกันนะครับ

ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีความรุนแรงมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 23?เท่าตัวเลยทีเดียว และก็เป็นก๊าซที่มีส่วนที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอยู่ในตอนนี้?เป็นข่าวร้ายที่นักวิทยาศาสตร์ได้พบก๊าซมีเทนจำนวนมากมายมหาศาลประมาณ 400,000 ล้านตัน อยู่ภายใต้น้ำแข็งทางแถบเหนือของไซบีเรีย และภาวะโลกร้อนก็กำลังทำให้น้ำแข็งละลาย จึงทำให้ก๊าซมีเทนพวกนี้กำลังค่อยๆถูกปล่อยออกมาทำลายชั้นบรรยากาศของโลกเรา
ก๊าซมีเทนพวกนี้มาจากไหน? ดร.อาจองท่านได้บอกว่า แต่ก่อนบริเวณขั้วโลกเหนือในปัจจุบันไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งนั้น ไม่มีน้ำแข็งปกคลุม จึงมีสัตว์และพืชมากมายอาศัยอยู่บริเวณนั้น แต่เกิดเหตุการณ์ที่แกนโลกเปลี่ยนอย่างฉับพลัน จึงทำให้บริเวณนั้นกลายไปเป็นขั้วโลก และอุณหภูมิก็ลดลงอย่างรวดเร็ว จากประมาณ 20 องศาเซลเซียสขึ้นไป กลายเป็นติดลบกว่า 50 องศาในทันที?สิ่งมีชีวิตทั้งหมดถูกแช่แข็งในทันที และเมื่อเวลาผ่านไปน้ำแข็งก็เริ่มปกคลุมหนาขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างที่ให้เห็นก็มีร่างของช้างแมมมอธที่มนุษย์ขุดพบ ถูกน้ำแข็งแช่ไว้จึงไม่เน่า และบางตัวยังมีหญ้าอยู่ในปาก เพราะว่าถูกแช่แข็งในทันทีขณะที่ยังกินอาหารอยู่
เมื่อซากของสิ่งมีชีวิตมากมายถูกฝังไว้ใต้น้ำแข็ง จึงทำให้เกิดก๊าซมีเทนจำนวนมากเกิดขึ้น แต่ก็ขึ้นมาสู่ผิวโลกไม่ได้เพราะว่าถูกชั้นน้ำแข็งกักเก็บไว้ แต่ปัจจุบันภาวะโลกร้อนทำให้น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเริ่มละลาย ก๊าซมีเทนพวกนี้กำลังค่อยๆถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ และจะเป็นอีกตัวการที่เร่งให้เกิดความรุนแรงของภาวะโลกร้อนที่มากขึ้น
ถ้าพวกเรายังไม่ช่วยกันลดภาวะโลกร้อนตอนที่ยังมีเวลา มนุษย์อย่างเราอาจจะต้องตกอยู่ในสถาณการณ์เดียวกับช้างแมมมอธก็ได้ ไม่แน่ในอนาคตอาจจะมีใครขุดพบคุณถูกแช่แข็งไว้ และก็ยังมีอาหารอยู่ในปากก็เป็นได้?คราวหน้าผมจะเอาเรื่องที่แกนโลกมีโอกาสเปลี่ยนแปลงเพราะภาวะโลกร้อนมาให้เพื่อนๆได้อ่านกันนะครับ อันนี้น่ากลัวมากๆ

ที่มา :

http://www.greentheearth.info

ผลกระทบของภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป บางสายพันธุ์ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ก็มีโอกาสที่จะสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้เลยทีเดียว ยกตัวอย่างสัตว์โลกที่กำลังได้รับความเดือดร้อนจากภาวะโลกร้อนโดยตรงในตอนนี้ก็คือสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณน้ำแข็งขั้วโลกอย่างนกเพนกวิน และหมีขั้วโลก
สำหรับมนุษย์ผู้ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนนั้นก็ย่อมได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ที่เห็นกันได้ค่อนข้างชัดเลยก็คือสภาพอากาศที่รุนแรงขึ้น ที่ไหนแห้งแล้งก็จะแห้งแล้งอย่างรุนแรง ขาดน้ำสะอาดที่จะใช้บริโภคและไม่มีน้ำพอที่จะใช้ทำการเกษตรกรรม ในขณะเดียวกันถึงเวลาหน้าฝน น้ำก็เทลงมามากจนเกินความต้องการ ส่งผลทำให้เกิดอุทกภัยอย่างหนัก ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย พืชผลที่ผลิตได้มีจำนวนน้อยลง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ
ภาวะโลกร้อนนั้นส่งผลกระทบในหลายๆด้าน ขอแยกออกเป็นหัวข้อดังนี้
  • ผลกระทบที่มีต่อระบบนิเวศวิทยา
เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นก็ส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย เมื่อน้ำแข็งจำนวนมากละลายลงก็ทำให้ปริมาณน้ำทะเลในโลกของเรานั้นสูงขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงเลยก็คือทำให้น้ำท่วม สถานที่ๆเรารู้จักกันหลายๆที่ก็จะจมมิดอยู่ใต้ท้องทะเล อย่างเช่น หมู่เกาะมัลดีฟส์ และกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของเราก็เช่นกัน
นอกจากนั้นปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นมาบวกกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลให้ระบบนิเวศของท้องทะเลเปลี่ยนไป ทำให้สัตว์น้ำจำนวนมากปรับตัวไม่ได้และจะต้องตายลงไป ตอนนี้ที่เห็นอยู่กันทั่วโลกก็คือปรากฏการณ์ฟอกขาวของปะการัง เกิดจากการที่โพลิปของปะการังนั้นตายเพราะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมไม่ได้ เหลือไว้แต่ส่วนที่เป็นโครงสร้างสีขาวไร้ซึ่งชีวิต ไม่ต่างอะไรกับโครงกระดูกของสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว ซึ่งปะการังนั้นเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่สำคัญมาก ถ้าไม่มีปะการังสัตว์น้ำต่างๆก็จะลดจำนวนลงไป และบางชนิดอาจสูญพันธุ์ไปในที่สุด
อีกผลกระทบที่พวกเราเห็นได้อย่างชัดเจนเลยก็คือภัยพิบัติจากธรรมชาติที่เกิดบ่อยขึ้น และรุนแรงมากขึ้น เป็นเพราะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป ฤดูหนาวสั้นลง ฤดูร้อนยาวนานขึ้น และเมื่ออุณหภูมิของโลกสูงขึ้น น้ำจากทะเลและจากแหล่งน้ำต่างๆก็เกิดการระเหยมากขึ้น ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาก็จะมีปริมาณที่สูงขึ้นจนทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ต่อไปอาหารและน้ำสะอาดก็จะขาดแคลน เพราะว่าพืชผลปลูกได้ยากขึ้นจากการที่อากาศเปลี่ยนไป ซ้ำยังมีภัยพิบัติมาคอยทำลายพื้นที่เพาะปลูกและพืชผลให้เสียหายอีกด้วย


  • ผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ
อย่างที่กล่าวไปในหัวข้อที่แล้ว เมื่อสัตว์น้ำมีจำนวนน้อยลงก็ทำให้สูญเสียรายได้จากการจับสัตว์น้ำ แหล่งท่องเที่ยวใต้น้ำที่เคยสวยงามที่เคยมีก็หมดไป ทำให้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว อีกทั้งการเกษตรก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ปริมาณพืชผลที่เคยผลิตได้มากมายก็ลดน้อยไป ส่งผลให้อาหารการกินแพงขึ้น และสินค้าขาดตลาด
ภัยพิบัติที่รุนแรงยังส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่โรงงานและแหล่งอุตสาหกรรมอีกด้วย จะเห็นได้จากน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ที่โรงงานและนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งได้รับความเสียหาย อีกทั้งยังต้องใช้งบเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการป้องกันภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต และยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนด้วย


  • ผลกระทบในด้านของสุขภาพ
อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นนั้นส่งผลให้เกิดสภาวะที่เหมาะสมของการดำรงชีวิตของแบคทีเรียและศัตรูพืชหลายๆชนิด ซึ่งทำให้ในอนาคตจะมีผู้ที่ติดเชื้อและล้มป่วยมากขึ้น ยกตัวอย่างโรคไข้เลือดออกที่ทุกคนรู้จักกันดี รวมไปถึงไข้มาลาเรีย อหิวาตกโรคก็จะระบาดเพิ่มขึ้นมากในอีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า
ภัยพิบัติต่างๆทำให้การดำรงชีวิตนั้นยากลำบากมากขึ้น อย่างเช่นการเกิดอุทกภัยทำให้เกิดการปนเปื้อนของสิ่งสกปรกในน้ำที่เราใช้อุปโภคบริโภค อาหารมีราคาแพงขึ้น ทำให้ผู้คนได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง ยกตัวอย่างประเทศที่ขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มในแถบแอฟริกาบางประเทศ ทุกคนน่าจะพอเคยเห็นภาพเหล่านั้นมาบ้างแล้ว
ในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าโลกของเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปมาก การใช้ชีวิตก็จะลำบากมากขึ้นกว่าตอนนี้ เนื่องจากธรรมชาติที่มีถูกทำลายไปจนเกือบจะไม่เหลือ ถึงตอนนั้นเชื่อว่าจะต้องมีคนคิดว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว…พวกเรากำลังทำอะไรกันอยู่



ที่มา :

http://www.greentheearth.info