วิธีสร้างฐานข้อมูล Mysql
การสร้างฐานข้อมูลโดยการใช้ phpMyAdmin หลังจากติดตั้ง Appserv แล้ว
ขั้นตอนที่ 1 เปิดเว็บบราวเซอร์ แล้วเข้าไปที่ http://localhost/ หรือ 127.0.0.1 ดังรูปที่ 1 ภาพหน้าแรกของ Appserv
รูปภาพที่ 1 หน้าแรก Appserv |
ขั้นตอนที่ 2 คลิกที่ phpMyAdmin Database Manager Version 2.10.3 แล้วจะเจอ popupให้ใส่ username และ password ดังรูปที่ 2
รูปภาพที่ 2 popup username password
ให้ใส่ username กับ pass ที่ได้กำหนดตอนติดตั้งโปรแกรม เสร็จแล้วเลือกภาษาให้เป็นภาษาไทย สำหรับบางคนที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยเลือกที่ช่อง เลือกภาษา ตามตัวอย่างรูปที่ 3
รูปภาพที่ 3 อธิบายหน้าแรกของ phpMyAdmin
ขั้นตอนที่ 3 จากนั้นกรอกชื่อฐานข้อมูลต้องการที่ช่อง "สร้างฐานข้อมูลใหม่" แล้วกดปุ่ม "สร้าง"
ดังรูปที่ 3
รูปภาพที่ 4 สร้างฐานข้อมูล
จากนั้นก็จะมาขั้นตอนการสร้างตารางของฐานข้อมูล โดยการ ใส่ชื่อตารางที่ช่อง "สร้างตารางในฐานข้อมูลนี้" และกำหนดจำนวน fields ที่ต้องการ สำหรับตัวอย่างนี้ จะสร้างตารางเก็บประวัติลูกค้า โดย จะใช้ชื่อตารางว่า customer และมีจำนวน fields 5 fields
รูปภาพที่ 5 แสดงสร้างตาราง โดยกำหนด ชื่อ และ จำนวน fields
ขั้นตอนที่ 4 หลังจากที่กำหนดชื่อตารางและกำหนด fields เสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่หน้าจอการกำหนด คุณสมบัติของ fields โดยผมจะยกตัวอย่างการสร้าง fields ดังต่อไปนี้
1. รหัส (id)
2. ชื่อ (name)
3. นามสกุล (surname)
4. ที่อยู่ (address)
5. เบอร์โทรศัพท์ (phone)
ซึ่งจะต้องกำหนดชนิดของตัวแปรในส่วนนี้ด้วย
ชนิดของข้อมูลที่สนับสนุน
ชนิดข้อมูลที่ MySQL สนับสนุนแบ่งเป็นสามประเภทหลักใหญ่ๆ
ชนิดข้อมูลที่เป็นตัวเลข
BIT (มีใช้ได้กับ MyISAM, InnoDB, Memory)
TINYINT : ขนาดที่เก็บ 1 ไบต์
SMALLINT : ขนาดที่เก็บ 2 ไบต์
MEDIUMINT : ขนาดที่เก็บ 3 ไบต์
INT หรือ INTEGER : ขนาดที่เก็บ 4 ไบต์
BIGINT หรือ INTEGER : ขนาดที่เก็บ 8 ไบต์
ชนิดข้อมูลที่เกี่ยวกับวันที่และเวลา
DATETIME : ขนาดที่เก็บ 8 ไบต์
เก็บค่าวันที่และเวลาในรูปแบบ YYYY-MM-DD HH:mm:SS
โดยมีค่าตั้งแต่ 1000-01-01 00:00:00 ถึง 9999-12-31 23:59:59
DATE : ขนาดที่เก็บ 3 ไบต์
เก็บค่าวันที่ในรูปแบบ YYYY-MM-DD
โดยมีค่าตั้งแต่ 1000-01-01 ถึง 9999-12-31
TIMESTAMP : ขนาดที่เก็บ 4 ไบต์
เก็บวันที่และเวลาในรูปแบบ String Timestamp
m = 14 หรือไม่กำหนด -> YYYYMMDDHHmmSS
m = 12 -> YYMMDDHHmmSS
m = 10 -> YYMMDDHHmm
m = 8 -> YYYYMMDD
m = 6 -> YYMMDD
m = 4 -> YYMM
m = 2 -> YY
โดยมีค่าตั้งแต่ 1970-01-01 00:00:00 ถึง 2037
TIME : ขนาดที่เก็บ 3 ไบต์
เก็บค่าเวลาในรูปแบบ HH:mm:SS
โดยมีค่าตั้งแต่ 00:00:00 ถึง 23:59:59
YEAR [(2 หรือ 4)] : ขนาดที่เก็บ 1 ไบต์
เก็บค่าปี 2 หรือ 4 หลัก
หากระบุเป็น 2 จะเก็บค่า 70 ถึง 69 หมายถึงปี 1970 ถึง 2069
หากระบุเป็น 4 จะเก็บค่า 1901 ถึง 2155
ชนิดข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวอักษร
CHAR : ขนาดที่เก็บ m ไบต์ แต่ไม่เกิน 255 ไบต์
เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือ encoding ที่ใช้อยู่
VARCHAR : ขนาดที่เก็บตามข้อมูลจริง มากที่สุด m ไบต์ แต่ไม่เกิน 255 ไบต์
เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือ encoding ที่ใช้อยู่
VARBINARY : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร ทุกครั้งที่เลือกชนิดของฟิลด์เป็นประเภทนี้ จะต้องมี การกำหนดความยาวของข้อมูลลงไปด้วย ซึ่งสามารถกำหนดค่าได้ตั้งแต่ 1 – 255 ฟิลด์ชนิดนี้ เหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลสั้นๆ เช่น ชื่อ นามสกุล หรือหัวข้อต่างๆ เป็นต้น… ในส่วนฟิลด์ประเภทนี้ จะ สามารถเลือก “แอตทริบิวต์” เป็น BINARY ได้ โดยปกติแล้วการจัดเรียงข้อมูลเวลาสืบค้น (query) สำหรับ VARCHAR จะเป็นแบบ case-sensitive (ตัวอักษรใหญ่ และเล็กมีความหมายแตกต่างกัน) แต่ หากระบุ “แอตทริบิวต์” เป็น BINARY ปุ๊บ การสืบค้นจะไม่คำนึงตัวอักษรว่าจะเป็นตัวใหญ่ หรือตัวเล็ก
BLOB : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทไบนารี เช่นเดียวกับ TINYBLOB แต่สามารถเก็บข้อมูลได้ 64KB
TEXT : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร เช่นเดียวกับ TINYTEXT แต่สามารถเก็บได้มากขึ้น โดย สูงสุดคือ 65,535 ตัวอักษร หรือ 64KB เหมาะสำหรับเก็บข้อมูลพวกเนื้อหาต่างๆ ที่ยาว ๆ
ENUM : เก็บค่า value เพียงค่าเดียวต่อหนึ่งแถว
ส่วน SET สามารถเก็บ value ได้หลายๆ ค่าต่อหนึ่งแถว
SET: ขนาดที่เก็บ 1, 2, 3, 4 หรือ 8 ไบต์ ตามจำนวนค่า value ซึ่งกำหนดได้มากที่สุด 64 ค่าเก็บค่าตาม value ที่กำหนด
รูปภาพที่ 6 ภาพแสดงการกำหนด fields และคุณสมบัติต่างๆของฐานข้อมูล ตาราง customer
กำหนด ให้ รหัส (id) เป็น primary key และกำหนดให้เป็น auto_increment (สร้างรหัสอัตโนมัติ)โดยการคลิกเลือก ตามตัวอย่าง รูปภาพที่ 5
รูปภาพที่ 5 กำหนด primary key และกำหนดให้เป็น auto_increment
เมื่อกำหนดค่าต่างๆของฐานข้อมูลตาราง customer กดปุ่ม "บันทึก" หรือ ถ้าหากต้องการเพิ่ม field ก็สามารถ กดที่ "ลงมือ" ดังภาพที่ 6
รูปภาพที่ 6 บันทึกหรือเพิ่ม field ใหม่
ก็จะได้ฐานข้อมูล ที่ชื่อ test_create_database และมีตารางชื่อ customer พร้อมใช้งาน
รูปภาพที่ 7 ตาราง customer
ที่มา : http://www.sonfree.com/detail.php?page_id=7 และ http://pongpat.janthai.com/data-type-mysql/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น